ออสเตรเลียปล่อยควอล์ลกลับสู่ป่า หลังเป็นสัตว์สูญพันธุ์เกือบ 60 ปี

ออสเตรเลียปล่อยฝูงควอล์ลสคืนสู่ป่าในรัฐนิวเซาท์เวลส์ หลังประกาศเป็นสัตว์สูญพันธุ์เกือบ 60 ปี โดยควอล์ลส์ทั้ง 10 ตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มการเพาะพันธุ์และการคืนสัตว์สู่ป่าระยะเวลา 5 ปี

ปล่อยควอล์ล 10 ตัวกลับสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในรัฐนิวเซาท์เวลส์

ปล่อยควอล์ล 10 ตัวกลับสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในรัฐนิวเซาท์เวลส์ Source: Supplied / David Stowe/Aussie Ark

ประเด็นสำคัญ
  • ควอล์ลมีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลียและประกาศให้เป็นสัตว์สูญพันธุ์เมื่อปี 1963
  • ปล่อยควอล์ล 10 ตัวคืนสู่วนอุทยานรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในรัฐนิวเซาท์เวลส์
  • จากโครงการเพาะพันธุ์และนำสัตว์คืนสู่ป่าเป็นเวลา 5 ปี
ศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งออสเตรเลียได้ปล่อยควอล์ลส์ (Quolls) 10 ตัวคืนสู่วนอุทยานอนุรักษ์ธรรมชาติที่รัฐนิวเซาท์เวลส์ หวังให้สัตว์สูญพันธุ์มีโอกาสรอดชีวิตอีกครั้ง

สัตว์ฝูงนี้ถูกปล่อยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบาร์ริงทัน (Barrington Wildlife Sanctuary) เขตอัพเพอร์ ฮันเทอร์ (Upper Hunter) เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรที่ใกล้จะสูญพันธุ์

ซึ่งออสเตรเลียประกาศให้ควอล์ลสายพันธุ์นี้สูญพันธ์เมื่อปีค.ศ. 1963

ผู้อำนวยการจัดการ ทิม ฟอว์กเนอร์ (Tim Faulkner) จากองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่าออสซี อาร์ก (Aussie Ark) กล่าวว่านี่เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญระดับโลก

“ก้าวเล็กๆ ของควอล์ล แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของควอล์ลทั้งหมด เป้าหมายของเราคือการมีประชากรที่เป็นตัวแทนของสัตว์ป่าทั้งหมด การปล่อยควอล์ลคืนสู่ป่าเป็นการบรรลุเป้าหมายนั้น ออสเตรเลียมีอัตราการสูญพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เลวร้ายที่สุดในโลก เราสูญเสียสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพื้นเมืองขนาดเล็กพอๆ กับจำนวนการสูญเสียประเภทเดียวกันของทั้งโลกรวมกัน ดังนั้นการปล่อยสัตว์คืนสู่ป่าเช่นนี้ คิดถึงความสำคัญของมัน นี่เป็นสายพันธุ์ที่กลับมาจากการต้องสูญพันธุ์อีกครั้ง มันเป็นเรื่องที่ดีมาก”
ฟังพอดคาสต์ที่เกี่ยวข้อง
federal-government-promises-50-million-save-koala-population-extinction image

รัฐบาลออสฯ ทุ่มงบ 50 ล้านเหรียญช่วยหมีโคอาล่าไม่ให้สูญพันธุ์

SBS Thai

31/01/202208:44
เขตวนอุทยานอนุรักษ์สัตว์ป่าบาร์ริงทันนับเป็นผืนป่าที่กว้างใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นที่ของโครงการควอล์ลแห่งแทสเมเนีย

สัตว์อื่นๆ ที่ปล่อยคืนสู่ป่าในวนอุทยานได้แก่ แทสเมเนียน เดวิล (Tasmanian Devil) โพโทโรจมูกยาว (Long-nosed Potoroos) รูฟัส เบ็ตตง (Rufous Bettongs) และวอลลาบีหางฟู (Brush-Tailed Rock Wallabies)
ผมชอบชื่อเล่นของควอล์ลส์มาก เราเรียกมันว่านักฆ่าหน้าเด็ก (Baby faced assasins) เพราะมันน่ารักแบบตายไปเลย ควอล์ลตะวันออกเป็นนักล่าที่กินเนื้อ มักกินแมลงเป็นอาหาร เต่าทองและด้วง หรือนก หนู กบ ถ้าหาได้ ออสเตรเลียมีควอล์ล 4 สายพันธุ์ และพวกมันใกล้สูญพันธุ์ มันเป็นสัตว์พื้นเมืองออสเตรเลียที่มีเอกลักษณ์
คุณทิมจากออสซี่ อาร์ก อุ้มควอลล์ก่อนปล่อยเข้าสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
คุณทิมจากออสซี่ อาร์ก อุ้มควอลล์ก่อนปล่อยเข้าสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า Credit: Aussie Ark
สัตว์กินเนื้อขนาดตัวเท่าแมวนี้มักออกมาตอนกลางคืนและเป็นสัตว์สันโดษ

ครั้งหนึ่งเคยมีจำนวนมากในป่า แต่ถูกล่าโดยแมวป่าและสุนัขจิ้งจอก

นักอนุรักษ์เฮย์ลีย์ ชูท (Hayley Shute) กล่าวว่าพันธุกรรมเป็นกุญแจสำคัญในการผสมพันธุ์และการเพิ่มจำนวนประชากรของสัตว์ที่เลื่องชื่อเรื่องขนลายจุดและดวงตาสดใสสีดำพันธุ์นี้

“ควอล์ลทั้ง 10 ตัวนี้สำคัญและจำเป็นต่อจำนวนสัตว์ป่าในออสเตรเลีย พวกมันมีพันธุกรรมที่แตกต่างไป มีสัตว์ออสเตรเลียอีกหลายสายพันธุ์ที่ต้องการความช่วยเหลือของเรา หมาป่าและแมวป่าได้ฆ่าทำลายล้างควอล์ลสายพันธุ์ตะวันออกและสายพันธุ์อื่นๆ อีกมาก”
กลุ่มอนุรักษ์สัตว์ป่าออสซี อาร์กหวังว่าจะสามารถสร้างกลุ่มของควอล์ลในเขตสงวนบาร์ริงทัน เพื่อเป็นต้นแบบว่าสัตว์ป่าอาศัยอยู่ในป่าอย่างไร หากปราศจากการคุกคามจากสัตว์นักล่าที่ดุร้าย

การสร้างรั้วพิเศษสามารถป้องกันแมวป่า สุนัขจิ้งจอก และหมูได้

อย่างไรก็ตาม ควอล์ลส์สายพันธุ์ตะวันออกกลุ่มนี้ได้รับการตรวจสุขภาพโดยกลุ่มอนุรักษ์ฯ ก่อนปล่อยคืนสู่ป่า โดยได้ทำการชั่งน้ำหนัก วัดระดับสุขภาพร่างกาย และให้ยาเพื่อป้องกันพยาธิและโรคร้าย


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 3 January 2023 5:05am
By Marcus Megalokomos
Presented by Chollada Kromyindee
Source: AAP


Share this with family and friends