อุปสรรควีซ่า-วัฒนธรรมฉุดรั้งผู้หญิงย้ายถิ่นฐานในความสัมพันธ์รุนแรง

Hand Shadow Of Woman On Glass

Anti-family violence advocates are calling for criminalising coercive control in Australia. Source: Getty Images/ Xia Yuan

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

นักรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงในครอบครัวเรียกร้องให้พฤติกรรมบังคับควบคุมถือเป็นอาชญากรรม รวมถึงขยายขอบข่ายกฎหมายด้านการย้ายถิ่นฐาน เพื่อให้เหยื่อความรุนแรงที่ถือวีซ่าชั่วคราวมีช่องทางสู่สถานะผู้พำนักถาวร


LISTEN TO
Visa and cultural barriers trapping migrant women in abusive relationships image

อุปสรรควีซ่า-วัฒนธรรมฉุดรั้งผู้หญิงย้ายถิ่นฐานในความสัมพันธ์รุนแรง

SBS Thai

03/05/202114:52

'การกระทำทารุณที่มองไม่เห็น'

คุณเจส ฮิลล์ (Jess Hill) นักข่าวเชิงสืบสวน ใช้เวลาสี่ปีค้นคว้าและผลิตงานเขียนเกี่ยวกับวิกฤตความรุนแรงในครอบครัวในออสเตรเลีย ถ่ายทอดผ่านหนังสือ See What You Made Me Do ซึ่งเอสบีเอสนำมาสร้างเป็นสารคดีความยาวสามตอน

คุณฮิลล์กล่าวว่า การบังคับควบคุมมีธรรมชาติที่สังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนนักจึงเป็นการกระทำทารุณประเภทที่มักถูกมองข้าม สัญญาณของการบังคับควบคุมที่พบบ่อย อาทิ

  • ควบคุมการเงิน
  • ตัดขาดเหยื่อจากเพื่อนและครอบครับ
  • ขัดขวางไม่ให้พบเจอผู้อื่น
  • ขู่ทำร้ายตัวเอง ลูก หรือสัตว์เลี้ยง 
  • ดูถูกหรือด้อยค่าเหยื่อ
รายงานฉบับล่าสุดโดย อินทัช ศูนย์พหุวัฒนธรรมเพื่อต่อต้านความรุนแรงในครอบครัว (inTouch Multicultural Centre Against Family Violence) พบว่า ร้อยละ 92 ของผู้ก่อความรุนแรงในครอบครัวมีพฤติกรรมเข้าข่ายบังคับควบคุม
domestic violence
Many victims of family violence on temporary visas remain trapped in abusive relationship for fear of deportation. Source: iStockphoto

'เงื่อนไขแวดล้อมทางวัฒนธรรม'

คุณอนุ คริชนัน (Anu Krishnan) นักสังคมสงเคราะห์จากนครเมลเบิร์น กล่าวว่า ผู้หญิงจากพื้นเพหลากวัฒนธรรมมักไม่ทันตระหนักว่าประสบการณ์ที่ตนพบเจอคือการกระทำทารุณ เนื่องด้วยสภาวะแวดล้อมทางวัฒนธรรมของพวกเธอ

ตัวอย่างเช่น การบังคับให้ผู้นับถือศาสนาฮินดูหรือชาวมุสลิมทำสิ่งที่ขัดต่อความเชื่อ หรือบังคับให้คนกินมังสวิรัตทำอาหารจากเนื้อสัตว์ แล้วดุด่าเมื่อไม่ยอมทำ การกระทำลักษณะนี้คือพฤติกรรมควบคุม

"บางอย่างอาจไม่ได้ดูเหมือนบังคับควบคุมสุดขีด แต่มีโอกาสอันตรายขึ้นเรื่อย ๆ จนกัดกินตัวตนของเหยื่อที่รอดพ้นมาได้" คุณคริชนันกล่าว

ข้อมูลจากองค์กร Children by Choice รัฐควีนส์แลนด์ เผยว่ามากกว่า 1 ใน 5 ของผู้หญิงจากพื้นเพหลากหลายวัฒนธรรมและภาษามีประสบการณ์ถูกบังคับควบคุมในแง่การมีบุตร ผู้หญิงเหล่านี้กว่า 3 ใน 4 ยังรายงานว่าถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัวควบคู่ไปด้วย

คุณจาทินเดอร์ เคาร์ (Jatinder Kaur) นักสังคมสงเคราะห์จากบริสเบนอธิบายว่า คู่ครองหรือสามีอาจจงใจบังคับภรรยาโดยหวังว่าภรรยาจะตั้งครรภ์ ทำให้ยิ่งควบคุมภรรยาได้ง่ายขึ้น

"แง่มุมอื่นที่เคยพบเห็นมีทั้งประเด็นการเลือกเพศบุตร หรือบังคับทำแท้ง ผู้หญิงอาจอยากเก็บเด็กไว้แต่คู่ครองไม่ต้องการ" คุณเคาร์กล่าว

อุปสรรคด้านวีซ่าและบทบัญญัติพิเศษว่าด้วยความรุนแรงในครอบครัว

คุณเจส ฮิลล์ กล่าวว่า เหยื่อผู้รอดชีวิตหลายคนที่ถือวีซ่าชั่วคราวลังเลที่จะรายงานการกระทำทารุณในความสัมพันธ์ เพราะกลัวสูญเสียวีซ่า
See What You Made Me Do
Jess Hill, investigative journalist and author of See What You Made Me Do. Source: SBS
กฎหมายด้านการย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลีย อนุญาตให้ผู้ถือวีซ่าคู่ครองประเภทชั่วคราว (ซับคลาส 309 หรือ 820) หรือวีซ่าคู่หมั้น (ซับคลาส 300) ที่ผจญความรุนแรงในครอบครัว มีโอกาสได้รับสถานะผู้พำนักถาวรแม้ว่าจะจบความสัมพันธ์กับผู้สปอนเซอร์วีซ่าแล้ว

คุณอาลี โมจาเฮดี (Ali Mojtahedi) หัวหน้านิติกรประจำศูนย์สิทธิและคำปรึกษาด้านการเข้าเมือง () กล่าวว่า บทบัญญัติว่าด้วยความรุนแรงในครอบครัวภายใต้กฎหมายการย้ายถิ่นฐาน กำหนดให้ต้องแสดงหลักฐานว่าประสบความทุกข์ทรมานจากความรุนแรงในครอบครัว

กรณีไม่มีพยานหลักฐานที่ศาลรับฟัง (judicial evidence) ก็จำเป็นต้องมีหลักฐานอื่น ๆ เช่น รายงานจากแพทย์ คำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์

"มีแนวทางกำหนดเข้มงวดว่ารายงานเหล่านั้นต้องระบุสิ่งใดบ้าง" คุณโมจาเฮดีกล่าว

เรียกร้องขยายขอบข่ายบทบัญญัติ

คุณโมจาเฮดีกล่าวว่า บทบัญญัติข้างต้นครอบคลุมเฉพาะผู้ถือวีซ่าไม่กี่ประเภทซับคลาส แต่ขอแนะนำให้ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวประเภทอื่นอย่าจมปลักกับความสัมพันธ์รุนแรงด้วยกลัวจะเสียวีซ่า และสนับสนุนให้ขอคำปรึกษา

"พวกเขาอาจสมัครขอวีซ่าตามเกณฑ์วีซ่าประเภทอื่นที่ตนมีคุณสมบัติ" คุณโมจาเฮดีกล่าว

ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้ารวมทั้งนักรณรงค์ต่างเรียกร้องให้รัฐบาลสหพันธรัฐขยายขอบข่ายบทบัญญัติว่าด้วยความรุนแรงในครอบครัวภายใต้กฎหมายการย้ายถิ่นฐาน ให้คุ้มครองผู้ถือวีซ่าชั่วคราวด้วย
"ออสเตรเลียควรมีวีซ่าสำหรับสตรีที่ตกอยู่ในความเสี่ยงและพำนักอยู่ในออสเตรเลีย ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะย้ายมาด้วยเส้นทางการย้ายถิ่นฐานแบบใด หากกลายเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวที่ออสเตรเลีย ควรได้รับวีซ่าระยะสองปีสำหรับสตรีที่ตกอยู่ในความเสี่ยงโดยอัตโนมัติ เพื่อให้พวกเขาสามารถขอรับความช่วยเหลือที่ต้องการได้" คุณจาทินเดอร์ เคาร์ กล่าว

การบังคับควบคุมจะเป็นอาชญากรรมหรือไม่ในออสเตรเลีย

พฤติกรรมบังคับควบคุมเป็นสัญญาณบ่งชี้สำคัญสู่การทำร้ายร่างกายและฆาตกรรม ขณะนี้ รัฐแทสเมเนียเป็นเขตปกครองเพียงเขตเดียวในประเทศที่กำหนดให้การบังคับควบคุมเป็นอาชญากรรม

คุณเจส ฮิลล์ มองว่า เป็นเพียงเรื่องของเวลาก่อนที่ทั่วประเทศจะประกาศให้พฤติกรรมบังคับควบคุมเป็นอาชญากรรม

ด้านคุณอาลี โมจาเฮดี ทนายความด้านการเข้าเมืองกล่าวว่า ยังคงมีความซับซ้อนหลายระดับสำหรับหญิงผู้ถือวีซ่าชั่วคราว ทั้งบริการสังคมสงเคราะห์ ที่พักอาศัย เมดิแดร์ และการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย
สารคดีของสถานีโทรทัศน์เอสบีเอสชุด See What You Made Me Do ออกอากาศครั้งแรก วันพุธที่ 5 พฤษภาคมนี้ เวลา 20.30 น. ทางช่องโทรทัศน์เอสบีเอสหรือชมฟรีออนไลน์ทาง SBS on Demand

สารคดีชุด See What You Made Me Do มีทั้งหมดสามตอนออกอากาศสัปดาห์ละหนึ่งตอน
ติดตามตอนที่สองในวันที่ 12 พฤษภาคม และตอนที่สาม วันที่ 19 พฤษภาคม
จากนั้นฉายให้ชมกันอีกครั้งวันอาทิตย์ เวลา 21.30 น. ทางช่อง SBS VICELAND


หากคุณหรือบุคคลอื่นตกอยู่ในอันตรายฉุกเฉิน โทร. 000

หากต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวหรือการประทุษร้ายทางเพศ ติดต่อบริการ 1800RESPECT โทร. 1800 737 732 หรือ

Lifeline โทร. 13 11 14 หรือ

Kids Helpline โทร. 1800 55 1800 หรือ  (บริการปรึกษา 24 ชั่วโมงสำหรับเยาวชน)

Men’s Referral Service โทร. 1300 766 491หรือ  (บริการปรึกษาทางโทรศัพท์สำหรับผู้ชายโดยไม่เปิดเผยชื่อและเป็นความลับ)

 โทร. 1800 184 527 (บริการสนับสนุนสำหรับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ)

สายด่วนแห่งชาติแจ้งการกระทำทารุณและละเลยทอดทิ้งผู้พิการ โทร. 1800 880 052

ELDERHelp โทร. 1800 353 374


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share