วิธีจัดการกับการกลั่นแกล้งที่โรงเรียนและทางออนไลน์

Australia Explained - Bullying

"การหยอกล้อที่เจ็บปวดเป็นพฤติกรรมกลั่นแกล้งที่พบได้บ่อยที่สุดที่พวกเขาเจอ" ศาสตราจารย์กรีนกล่าว Credit: Maskot/Getty Images/Maskot

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

การมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและไม่แบ่งแยกเป็นภารกิจของโรงเรียนทุกแห่งในออสเตรเลีย แต่หากลูกของคุณถูกรังแกที่โรงเรียน ผู้ปกครองควรทำอย่างไร? ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา จิตวิทยา และการรับมือเรื่องการกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ตมีคำแนะนำ


ประเด็นสำคัญ
  • การกลั่นแกล้งอาจเกิดจากบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มคน และสิ่งที่มองว่าการล้อเล่นที่ไม่เป็นอันตรายอาจกลายเป็นการกลั่นแกล้งได้
  • ทุกโรงเรียนในออสเตรเลียมีกระบวนการป้องกันและรับมือกับการกลั่นแกล้งที่โรงเรียน
  • คุณสามารถแจ้งถึงการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ที่ออสเตรเลียได้

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

พฤติกรรมกลั่นแกล้ง (bully) มีหลายรูปแบบและหลายระดับ ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญแนะว่าไม่ควรเพิกเฉย

ศาสตราจารย์เดโบราห์ กรีน จากแผนกอนาคตการศึกษาของมหาวิทยาลัยเซาท์ ออสเตรเลียสรุปผลกระทบระยะยาวของการกลั่นแกล้งที่มีต่อเหยื่อและต่อสังคม โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือและทางการแพทย์

“1 ใน 4 ของนักเรียนชั้นปีที่ 9 (มัธยมศึกษาปีที่ 3) ในออสเตรเลียรายงานว่าถูกรังแกทุกๆ 2-3 สัปดาห์ หรือบ่อยกว่านั้น มีรายงานว่าการกลั่นแกล้งมีค่าใช้จ่าย $2.3 ล้านที่สังคมต้องจ่าย โดยเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างที่เด็กศึกษาอยู่ที่โรงเรียนจนถึง 20 ปีหลังจากจบการศึกษา”
พฤติกรรมประเภทใดที่เข้าข่ายการกลั่นแกล้ง? และแตกต่างจากการล้อเล่นที่ไม่อันตรายอย่างไร?

ศาสตราจารย์กรีนอธิบายถึงคำจำกัดความที่ออสเตรเลีย ซึ่งบรรยายการกลั่นแกล้งว่าเป็น ‘การใช้อำนาจกับความสัมพันธ์ในทางที่ผิดโดยเจตนาและต่อเนื่อง ผ่านพฤติกรรมทางวาจา ร่างกาย และ/หรือทางสังคมซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยมีเจตนามุ่งร้าย การกลั่นแกล้งอาจกระทำโดยบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มคนที่ใช้อำนาจในทางที่ผิดต่อบุคคลหนึ่งหรือมากกว่านั้น’

ศาสตราจารย์กรีนกล่าวว่า องค์ประกอบของเจตนามุ่งร้าย ความไม่สมดุลของอำนาจ และการเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้การกลั่นแกล้งแตกต่างจากการยุแหย่ของเด็ก อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุดชี้ว่าการกลั่นแกล้งและการยุแหย่มีความคล้ายกัน

"เพราะเมื่อพฤติกรรมแบบนั้นบ่อนทำร้ายผู้ที่ต้องเผชิญและเกิดขึ้นซ้ำๆ พฤติกรรมยุแหย่จะกลายเป็นการกลั่นแกล้ง"
เมื่อเด็กออสเตรเลียตอบคำถามเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งและการหยอกล้อ พวกเขาตอบว่าการหยอกล้อที่เจ็บปวดเป็นพฤติกรรมกลั่นแกล้งที่พบได้บ่อยที่สุดที่พวกเขาเจอ ตามด้วยการเล่าเรื่องโกหกอย่างเจ็บปวดที่เกี่ยวกับพวกเขา
ศาสตราจารย์กรีนกล่าว
Australia Explained - Bullying
การล้อเลียนที่สร้างความเจ็บปวดเป็นพฤติกรรมกลั่นแกล้งที่พบบ่อยที่สุด ตามมาด้วยการโกหกที่เกี่ยวกับพวกเขา Credit: FatCamera/Getty Images
ศาสตราจารย์คาร์เมล ทัดเดโอทำงานร่วมกับศาสตราจารย์กรีนในโครงการวิจัย โครงการนำร่องของรัฐบาลออสเตรเลียที่ให้ความช่วยเหลือในการป้องกันการกลั่นแกล้งในโรงเรียน

ศาสตราจารย์ทัดเดโออธิบายว่า ถึงแม้แต่ละโรงเรียนจะมีนโยบายแตกต่างกัน ทุกโรงเรียนควรมีวิธีป้องกันการกลั่นแกล้ง รวมถึงการรณรงค์เรื่องความหลากหลายทางเพศ ความพิการ เชื้อชาติ และความเชื่อทางศาสนาด้วย

โรงเรียนควรมีขั้นตอนที่ชัดเจนในการจัดการเหตุการณ์กลั่นแกล้งที่มีการรายงานและให้ความช่วยเหลือแก่เด็กที่ถูกกลั่นแกล้ง

“ปกติแล้ว เมื่อมีการรายงานเหตุการกลั่นแกล้ง ข้อมูลจะถูกรวบรวมและบันทึกเพื่อหาวิธีแทรกแซงและสิ่งที่ควรทำเพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะที่ดีของนักเรียน ในบางกรณี นักเรียนอาจถูกส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยเหลือและบริการช่วยเหลือต่างๆ แน่นอนว่าเรื่องนี้ต้องหารือกับนักเรียนและครอบครัวของพวกเขาก่อน หากนักเรียนหรือผู้ปกครองไม่พอใจกับขั้นตอนที่โรงเรียนดำเนินการ พวกเขาสามารถร้องเรียนต่อฝ่ายจัดการของกระทรวงศึกษาธิการได้”
Australia Explained - Bullying
การกลั่นแกล้งทางออนไลน์อาจเป็นการสร้างบัญชีแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น การข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง หรือเนื้อหาทางเพศที่ใช้ AI Credit: fcafotodigital/Getty Images
เมื่อเด็กรายงานถึงการกลั่นแกล้ง เป็นเรื่องปกติที่ผู้ปกครองจะมีอารมณ์ร่วม

สิ่งสำคัญคือต้องให้ความมั่นใจแก่เด็กว่าคุณพร้อมจะช่วยเหลือพวกเขา

ศาสตราจารย์ทัดเดโอแนะนำวิธีสงบสติอารมณ์และปฏิบัติตามกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ

“ผู้ปกครองอาจเริ่มด้วยการขอนัดพบครูของเด็กหรือเจ้าหน้าที่ เช่น ที่ปรึกษาสุขภาพจิต และควรจดบันทึกเมื่อเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน อธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ถามถึงขั้นตอนการดำเนินการโดยละเอียดและระยะเวลาการดำเนินการ ถามเรื่องการรักษาความลับและความช่วยเหลือที่อาจมีให้แก่เด็ก ควรจดบันทึกทุกครั้งที่เข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน สอบถามความคืบหน้าเพื่อทราบถึงสถานการณ์และเพื่อให้เจ้าหน้าที่บอกความคืบหน้ากับคุณด้วย”

พอล คลาร์กเป็นผู้บริหารฝ่ายการจัดการของฝ่ายการศึกษา การป้องกัน และการรวมกลุ่มที่ หรือคณะกรรมาธิการเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ หน่วยงานรัฐบาลที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนออสเตรเลียที่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกล่วงละเมิดทางออนไลน์

คลาร์กอธิบายสิ่งที่ควรทำเมื่อมีเหตุกลั่นแกล้งทางออนไลน์ (cyberbully) และอธิบายขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือของ eSafety

“หากมีเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ สกรีนชอตหน้าจอ บันทึก URL ไว้ก่อนที่ช่วยให้เด็กปิดหรือบล็อกบัญชี จากนั้นหากคุณรายงานกับแพลตฟอร์มที่มีการกลั่นแกล้งเกิดขึ้นและไม่มีการดำเนินการใดๆ รายงานกับ esafety.com.au เรามีอำนาจในการลบเนื้อหาที่เป็นอันตรายร้ายแรง”
Australia Explained - Bullying
ทุกโรงเรียนควรมีวิธีป้องกันการกลั่นแกล้ง รวมถึงการรณรงค์เรื่องความหลากหลายทางเพศ ความพิการ เชื้อชาติ และความเชื่อทางศาสนาด้วย Source: Moment RF / Natalia Lebedinskaia/Getty Images
การกลั่นแกล้งทางออนไลน์อาจเกินเลยมากกว่าแค่คอมเมนต์ที่น่ารังเกียจ

ตัวอย่างของการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ในรูปแบบที่ร้ายแรงกว่าที่รายงานกับ eSafety คือ การสร้างบัญชีแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น การข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง หรือเนื้อหาทางเพศที่ใช้ AI (Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์)

เมื่อ eSafety ได้รับรายงาน พนักงานจะตรวจสอบเนื้อหาและบริบทในการพิจาณาว่าการกลั่นแกล้งที่รายงานเกิดขึ้นจริงหรือไม่

“ผมขอยกตัวอย่างกรณีเด็กผู้ชายที่เราช่วยไว้ ผู้ปกครองของเด็กรายงานถึงโพสต์และบัญชีปลอมที่ล้อเลียนการชอบรถเมล์ของลูกชาย เรื่องแบบนี้อาจถูกมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่บริบทคือกุญแจสำคัญ เด็กผู้ชายคนนี้พิการและต้องเผชิญกับการรังแกทางออนไลน์ พนักงานของเราตัดสินใจว่าเป็นไปตามกรณีที่ควรดำเนินการและจัดการลบสิ่งเหล่านั้นได้สำเร็จ”
Australia Explained - Bullying
"เราแนะนำให้ผู้ปกครองให้ความช่วยเหลือลูกๆ ให้ผ่านสถานการณ์นั้นไปได้ด้วยกัน และให้พวกเขาแน่ใจว่ามีความช่วยเหลือทางจิตใจที่พวกเขาต้องการ" คลาร์กจาก eSafety Commissioner กล่าว Credit: triloks/Getty Images
ในกรณีที่สงสัยหรือได้รับการยืนยันถึงการถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ คลาร์กไม่แนะนำให้ผู้ปกครองยึดอุปกรณ์ของเด็กไป

“เราเข้าใจว่านี่เป็นสัญชาติญาณตามธรรมชาติในการปกป้องลูกจากอันตราย แต่มันอาจส่งผลให้เด็กไม่ขอความช่วยเหลือในอนาคตได้ เพราะพวกเขากลัวว่าจะถูกยึดอุปกรณ์ไป ดังนั้น เราแนะนำให้ผู้ปกครองให้ความช่วยเหลือลูกๆ ให้ผ่านสถานการณ์นั้นไปได้ด้วยกัน และให้พวกเขาแน่ใจว่ามีความช่วยเหลือทางจิตใจที่พวกเขาต้องการ”

เจมี เคนดัลล์ ที่ปรึกษาจาก บริการให้คำปรึกษาแก่เด็กอายุตั้งแต่ 5 ขวบ ทางโทรศัพท์และทางออนไลน์

เขากล่าวว่า วิธีที่มักใช้ในการรับมือกับการกลั่นแกล้ง ได้แก่ การเดินหนี การใช้มุขตลกเพื่อเบี่ยงเบน หรือการไม่สนใจผู้ที่มีพฤติกรรมกลั่นแกล้ง

อย่างไรก็ตาม เคนดัลล์อธิบายว่าวิธีเหล่านี้สามารถใช้ได้ในระยะสั้นและส่งเสริมให้เด็กขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ หากเจอกับพฤติกรรมกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นซ้ำหรือกระทบกับความรู้สึก

“มันเป็นเรื่องปกติที่เราอยากพยายามและจัดการด้วยตัวเราเองก่อนบอกผู้ใหญ่ แต่บางครั้งเราอาจไม่รู้ว่าเมื่อไหร่คือเวลาที่ควรมีคนเข้ามาช่วยเหลือ ดังนั้นควรบอกใครสักคนทันทีที่เกิดขึ้น เป็นวิธีที่ดีในการมีความช่วยเหลือเพื่อจัดการกับมัน แม้กระทั่งการบอกผู้ใหญ่ที่บ้านหรือที่ไว้ใจว่า ‘ฉันโอเคที่จะพยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเองในตอนนี้ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง หากมีอีก ฉันอาจขอความช่วยเหลือจากคุณ’
Australia Explained - Bullying
การเดินหนี การใช้มุขตลกเพื่อเบี่ยงเบน หรือการไม่สนใจผู้ที่กลั่นแกล้งอาจช่วยได้ในระยะสั้น Credit: FangXiaNuo/Getty Images
สำหรับผู้ใหญ่ สิ่งแรกที่ต้องทำคือเปิดโอกาสให้เด็กบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น นับเป็นวิธีสร้างพลังในการจัดการกับการกลั่นแกล้ง

ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ใหญ่ที่เด็กไว้ใจทุกคนต้องทำงานร่วมกัน

“แม้คุณจะถามเด็กถึงสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ยังรู้สึกว่ายังมีอะไรบางอย่าง ควรปฏิบัติตัวในลักษณะของผู้ใหญ่ เช่น ‘ฉันรู้ว่าคุณบอกฉันว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ฉันยังรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น จะเป็นอะไรไหม หากฉันจะสอบถามกับครูที่โรงเรียน? เพียงเพื่อดูว่าคุณเป็นยังไง หรือครูจะมีเรื่องอะไรนอกจากนี้ไหม’ เราทุกคนสามารถทำงานร่วมกันในชุมชนเพื่อช่วยเด็กที่ถูกกลั่นแกล้ง ไม่จำเป็นต้องพูดคุยเรื่องนี้กับคนเพียงคนเดียว”
Australia Explained - Bullying
ผู้ใหญ่ควรเปิดโอกาสให้เด็กเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น นับเป็นวิธีสร้างพลังอย่างหนึ่งให้แก่เด็ก Credit: triloks/Getty Images
  • หน่วยงานของโรงเรียนและนโยบายป้องกันและรับมือกับการกลั่นแกล้งในโรงเรียนของแต่ละเขตอำนาจศาล  
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางออนไลน์และความช่วยเหลือ และข้อมูลที่แปลไว้  
  • Kids Helpline เป็นหน่วยงานที่ให้บริการช่วยเหลือแก่เด็กที่อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปทางโทรศัพท์และทางออนไลน์ 24 ชั่วโมง โทร 1800 55 1800 หรือเว็บไซต์
อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก  


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share