คุณจะวางแผนเลี้ยงดูบุตรหลังแยกทางอย่างไร

Family law concept. Family Paper and Judge gavel on the table

การขึ้นศาลอาจเป็นทางเลือกสุดท้ายในการเจรจาการเลี้ยงดูบุตรร่วมกันหลังแยกทาง แต่หากคุณจำเป็นต้องใช้ทางเลือกนี้ก็มีแหล่งข้อมูลมากมายที่ช่วยคุณได้ Source: Moment RF / Rapeepong Puttakumwong/Getty Images

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

การเจรจาแบ่งหน้าที่ผู้ปกครองบุตรหลังจากพ่อแม่แยกทางหรือหย่าร้างนั้นจะยึดสิทธิและสวัสดิการของเด็กเป็นหลัก ภายใต้พระราชบัญญัติกฎหมายครอบครัว เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะอาศัยที่ใดด้วยตนเอง ผู้ปกครองต้องบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่คำนึงถึงความปลอดภัย ความสะดวก และประโยชน์โดยรวมของบุตร


Key Points
  • ภายใต้พระราชบัญญัติกฎหมายครอบครัว จะยึดสิทธิและสวัสดิการของเด็กเป็นหลัก
  • ผู้คนที่แยกทางกันจำนวนมากสามารถจัดการการเลี้ยงดูเด็กด้วยกันได้
  • กรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถตกลงกันได้ ขั้นตอนต่อไปมักจะเป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในครอบครัว
  • ศาลเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการเจรจาข้อตกลงการเลี้ยงดูเด็ก แต่หากคุณจำเป็นต้องขึ้นศาลก็มีแหล่งข้อมูลที่ช่วยเหลือคุณในกระบวนการนี้
พระราชบัญญัติกฎหมายครอบครัวมีผลบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกับคู่ที่แต่งงานกัน คู่ที่อยู่ด้วยกันทางพฤตินัย หรือพ่อแม่ที่เป็นเพศเดียวกัน ตลอดจนผู้ดูแล เช่น ปู่ย่าตายาย

ซึ่งกฎหมายนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าเด็ก ๆ มีสิทธิ์รักษาความสัมพันธ์กับทั้งพ่อและแม่ โดยไม่เกี่ยวกับเพศหรือบทบาทการเป็นพ่อแม่ภายในครอบครัว

ดังนั้น หลังจากการหย่าร้าง ผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายไม่มีใครมีสิทธิ์โดยอัตโนมัติในการดูแลเด็กแต่เพียงผู้เดียวหรือตัดสินใจแทนผู้ปกครองอีกฝ่ายหนึ่ง

คุณ เบอร์นาเดต แกรนด์ดิเนต รักษาการผู้จัดการโครงการของ อธิบายว่า จะมีการแบ่งความรับผิดชอบของผู้ปกครองอย่างไรภายใต้กฎหมายดังกล่าว เธอชี้ว่า

ภายใต้พระราชบัญญัติกฎหมายครอบครัว มีการสันนิษฐานว่าผู้ปกครองมีความรับผิดชอบร่วมกันคนละครึ่งและเท่าเทียม
สิ่งสำคัญคือคุณต้องทราบว่ามีเพียงศาลเท่านั้นที่สามารถเป็นผู้ออกคำสั่งไม่ให้ผู้ปกครองเจอลูกได้ เช่น ในกรณีความรุนแรงในครอบครัว

ซึ่งความรับผิดชอบของผู้ปกครองร่วมกันอย่างเท่าเทียมกันนี้ หมายความว่าผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายต้องสนับสนุนด้านการเงินของเด็ก แต่มันไม่ได้หมายความว่าลูกจะต้องอยู่กับพ่อแม่แต่ละคนเท่าๆ กัน คุณ เบอร์นาเดต แกรนด์ดิเนต อธิบายว่า

ผู้ปกครองควรตัดสินใจว่าวิธีการจัดการใดเหมาะสมที่สุดสำหรับเด็ก เธอเปิดเผยว่า

"ผู้คนที่แยกทางกันจำนวนมากสามารถจัดการการเลี้ยงดูเด็กด้วยกันได้ หากผู้ปกครองบรรลุข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งอาจเป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นทางการ หรือทางวาจา หรือพวกเขาสามารถเขียนและลงนามในข้อตกลงนั้น และมันจะกลายเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า 'การวางแผนเลี้ยงดูบุตร"

So excited to see daddy!
ซึ่งแผนการเลี้ยงดูบุตรอย่างเท่าเทียมนี้อาจรวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับการเตรียมการทางการเงิน Credit: PeopleImages/Getty Images

การวางแผนเลี้ยงดูบุตร

จากข้อมูลของคุณ ไชรีน แฟงฮานิ ทนายความอาวุโสฝ่ายบริการกฎหมายสตรีในรัฐ ACT (Australian Capital Territory) อธิบายว่าแผนการเลี้ยงดูบุตรนี้ไม่มีรูปแบบตายตัว เธอเปิดเผยว่า

"โดยปกติแล้ว ผู้ปกครองทั้งสองคนมานั่งปรึกษาและตกลงกันว่าการเตรียมการเลี้ยงดูบุตรของพวกเขาจะเป็นอย่างไร คุณสามารถเขียนหัวข้อ 'แผนการเลี้ยงดูบุตร' ที่ด้านบนกระดาษ ลงวันที่ไว้ และอาจมีรายละเอียด เช่น เด็กๆ จะอาศัยอยู่กับ แม่ในวันนี้ และพ่อในวันนี้ และคุณอาจมีแนวทางคร่าวๆ ว่าคุณจะติดต่อสื่อสารกันในฐานะผู้ปกครองเกี่ยวกับลูกๆ โดยวิธีใด”

จุดประสงค์ของแผนการเลี้ยงดูบุตรนี้ก็คือ การลดความขัดแย้งหลังจากการแยกทางกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ปกครองอาจมีการสื่อสารผิดพลาด อย่างไรก็ตาม แผนการเลี้ยงดูบุตรที่ว่านี้ ไม่ใช่เอกสารที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย เธอกล่าวว่า

"ถ้าผู้ปกครองคนใดคนหนึ่งไม่ทำตามแผนการเลี้ยงดูบุตรที่ร่างไว้ คุณจะไม่สามารถฟ้องร้องอีกฝ่ายได้ เพราะแผนการเลี้ยงดูบุตรมีความยืดหยุ่น คุณสามารถเปลี่ยนแปลงรายละเอียดได้ เมื่อเด็กโตขึ้นและความต้องการของพวกเขาเปลี่ยนไป คุณสามารถร่างแผนการเลี้ยงดูบุตรอีกครั้งได้ ถ้าคุณและอตีตคู่ชีวิตไม่สามารถตกลงกันได้ คุณอาจต้องการความช่วยเหลือจากคนกลางหรือบุคคลที่สามเพื่อช่วยให้คุณบรรลุข้อตกลงนั้น”


Why are they arguing?
เด็กหญิงตัวน้อยรู้สึกเศร้า เมื่อได้ยินพ่อแม่ทะเลาะกัน Credit: skynesher/Getty Images

กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในครอบครัว

ในกรณีที่คุณบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการเตรียมการเลี้ยงดูบุตรแล้ว และต้องการทำให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย คุณสามารถยื่นคำร้องออนไลน์ต่อศาลปกครองกลางและศาลครอบครัวแห่งออสเตรเลียเพื่อขอให้ออกคำสั่งยินยอมการเลี้ยงดูบุตรได้

แต่กรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถตกลงกันได้ ขั้นตอนต่อไปมักจะเป็นการแก้ไขข้อพิพาทในครอบครัว

คุณ เบอร์นาเด็ตต์ แกรนดิเน็ตติ อธิบายว่า

"การดำเนินการขั้นตอนนี้ ทำให้ผู้ปกครองสามารถเจรจาข้อตกลงในการเลี้ยงดูบุตรโดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้ไกล่เกลี่ย คณะกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมายทั่วประเทศออสเตรเลียสามารถให้ความช่วยเหลือกระบวนการการไกล่เกลี่ยตามกฎหมายสำหรับคนที่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้บริการการไกล่เกลี่ยที่มีในชุมชนหรือบริษัทปรึกษากฎหมายเอกชนสำหรับผู้ที่แยกทางกัน"

ด้าน นาง แอนน์-มารี ไรซ์ นายทะเบียนฝ่ายตุลาการอาวุโส จาก ศาลปกครองกลางและศาลครอบครัวแห่งออสเตรเลีย (Federal Circuit and Family Court of Australia) กล่าวว่า พ่อแม่ที่แยกทางกันส่วนใหญ่ทำข้อตกลงการเลี่ยงดูบุตรโดยไม่ต้องพึ่งอำนาจศาล เธอกล่าวว่า

 "เป็นที่ทราบกันดีว่า การเจรจาทำข้อตกลงระหว่างผู้ปกครองนั้น มีประสิทธิภาพในการลดความขัดแย้งและสร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็กมากกว่า ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการบรรลุจุดประสงค์นี้ รวมถึงผู้ที่ต้องเจรจาเรื่องนี้ผ่านศาล แม้ว่าคุณจะขึ้นศาลเพราะคุณไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ เพราะโอกาสที่จะตกลงกันด้วยดีก่อนการพิจารณาคดีของผู้พิพากษามีน้อยมาก ซึ่งศาลจะมาช่วยคุณหาวิธีการเจรจาข้อตกลงที่เหมาะสมกับคุณและลูก ๆ ของคุณ อย่างปลอดภัย”

นายทะเบียนไรซ์ เน้นย้ำว่าศาลมีหน้าที่ในการช่วยผู้ปกครองแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างรวดเร็วและประหยัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม การขึ้นศาลก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด เธอชี้ว่า

"ฉันคิดว่าทุกคนที่ทำงานในระบบกฎหมายครอบครัว ต่างบอกว่าศาลเป็นสถานที่สุดท้ายที่คุณจะเลือก แต่ใครก็ตามที่ต้องการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอคำสั่งศาลอย่างเป็นทางการในเรื่องเกี่ยวกับเด็กนั้น ต้องให้พวกเขาพยายามบรรลุข้อตกลงกับผู้ปกครองอีกฝ่ายก่อน ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องเข้าร่วมกระบวนการไกล่เกลี่ยกับผู้ปฏิบัติการระงับข้อพิพาทในครอบครัวที่ได้การรับรอง และครอบครัวต้องได้รับใบรับรองเพื่อยืนยันว่าไม่สามารถบรรลุข้อตกลงระหว่างกันได้ ยกเว้นในกรณีเร่งด่วนและมีความเสี่ยงสูง ”

Young Family Reunites After Work and School
เมื่อพ่อแม่ไม่สามารถตกลงกันได้ ศาลกฎหมายครอบครัวจะตัดสินโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กตามกฎหมายครอบครัว Source: Moment RF / LOUISE BEAUMONT/Getty Images
ผู้ปฏิบัติการระงับข้อพิพาทในครอบครัวที่ได้การรับรอง (Family Dispute Resolution Practitioner) หรือ FDRP เป็นผู้ไกล่เกลี่ยที่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษเพื่อทำงานร่วมกับครอบครัวที่มีความขัดแย้ง

คุณสามารถหาผู้ปฏิบัติการระงับข้อพิพาทในครอบครัว (FDRP) ได้ในเว็บไซต์ของศูนย์ความสัมพันธ์ครอบครัวต่างๆ (the Family Relationship Centres) ซึ่งจะมีการระบุสถานที่ตั้งและค่าธรรมเนียมไว้ด้วย โดยมากผู้ปฏิบัติงานระงับข้อพิพาทในครอบครัวของเอกชนเสนอบริการนี้จะมีค่าธรรมเนียมสูงกว่าของรัฐบาล

ศาลครอบครัวมีแหล่งข้อมูลออนไลน์เพื่อช่วยให้คุณบรรลุข้อตกลงการเลี่ยงดูบุตรระหว่างกัน โดยไม่ต้องขึ้นศาล คุณสามารถติดต่อบริการช่วยเหลือทางกฎหมายได้จาก ศูนย์กฎหมายชุมชน (Legal Aid) ในรัฐของคุณ หรือไปที่เว็บไซต์ เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องนี้ได้
นายทะเบียนไรซ์กล่าวว่า คุณไม่จำเป็นต้องมีทนายความหากคุณเข้าร่วมการระงับข้อพิพาทในครอบครัว (FDR) เธออธิบายว่า

“หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย ซึ่งรวมถึงความรุนแรงในครอบครัว ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการจะมีการหารือกับคุณเป็นการส่วนตัวก่อนการเจรจา และรวมถึงความช่วยเหลือต่าง ๆ เช่นล่าม หรือการช่วยเหลืออื่นๆ การระงับข้อพิพาทในครอบครัว (FDR) มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้ความมั่นใจว่าการเจรจา จะเป็นไปด้วยความเหมาะสม ปลอดภัย ซึ่งถ้าไม่เป็นไปตามที่ต้องการ คุณ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้”

หากคุณได้รับคำเชิญจากผู้ปกครองอีกฝ่ายให้เข้าร่วมกระบวนการไกล่เกลี่ย คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบและหากคุณมีข้อสงสัยควรขอคำแนะนำทางกฎหมาย แต่หากคุณเลือกที่จะไม่เข้าร่วม อาจมีการตัดสินใจที่คุณไม่ได้แสดงเจตจำนงของคุณ

ศาลครอบครัว

เมื่อพ่อแม่ไม่สามารถตกลงกันได้ ศาลกฎหมายครอบครัวจะตัดสินโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กตามกฎหมายครอบครัว และคำสั่งศาลมีผลบังคับจนกว่าเด็กจะอายุครบ 18 ปี

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของคำสั่งศาลจะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี นาง แอนน์-มารี ไรซ์ เปิดเผยว่า

"คำสั่งศาลเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งกำหนดสิ่งที่ฝ่ายต่างๆ ต้องทำเกี่ยวกับเด็กที่เกี่ยวข้องหรือเรื่องการเงิน คำสั่งศาลสามารถทำได้โดยความยินยอมระหว่างคู่สัญญาหรือโดยนายทะเบียนหรือผู้พิพากษาหลังจากการตัดสินคดีความ คำสั่งศาลมีผลผูกพันทุกฝ่าย"

หากผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่กำหนด (เช่น พาเด็กไปหาผู้ปกครองอีกฝ่ายตามเวลาที่กำหนด) ศาลจะสามารถบังคับใช้คำสั่งศาลและจัดการกับการละเมิดคำสั่งศาลดังกล่าว การฝ่าฝืนคำสั่งศาลอาจส่งผลร้ายแรงตามมา

ในกระบวนการร้องต่อศาล คุณต้องยื่นเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ และต้องมีการระบุความเสี่ยงใดๆ ก็ตามที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งในเว็บไซต์ของศาลมีรายการเอกสารที่คุณต้องกรอกทั้งหมด

บนเว็บไซต์มีวิดีโอเพื่อช่วยให้คุณเข้าใจกระบวนการดังกล่าว และมีความช่วยเหลือด้านภาษาหากคุณต้องการนักแปล

เมื่อคุณวางแผนที่จะย้ายไปต่างประเทศหรือย้ายไปต่างรัฐกับลูกของคุณ คุณ แฟงฮานิ

กล่าวว่าคุณจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่คุณจะต้องการคำสั่งศาล เธอกล่าวว่า

"ในกรณีนี้คุณต้องการปรึกษากับทนายความ เพราะมีหลายอย่างที่ศาลจะพิจารณาเมื่อมีการยื่นขอย้ายถิ่นฐาน โดยจะพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ เช่น ความกังวลด้านความปลอดภัย หรือการย้ายที่อยู่เพื่อให้อยู่อาศัยใกล้กับครอบครัวมากขึ้น การต้องการความช่วยเหลือ หรือการพิจารณาปัจจัยทางการเงิน"

สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับทนายความก่อนตัดสินใจ ถ้าคุณรู้สึกกดดันที่ต้องทำข้อตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดในการเลี้ยงดูบุตร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังประสบกับความรุนแรงในครอบครัว

Father packing daughters backpacks for school
เมื่อคุณวางแผนที่จะย้ายไปต่างประเทศหรือย้ายไปต่างรัฐกับลูกของคุณ คุณจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่คุณจะต้องการคำสั่งศาล Credit: MoMo Productions/Getty Images

เมื่อคุณต้องการย้ายที่อยู่โดยนำลูกไปด้วยลูก

เมื่อคุณวางแผนที่จะย้ายไปต่างประเทศหรือย้ายไปต่างรัฐกับลูกของคุณ คุณ แฟงฮานิ กล่าวว่าคุณจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่คุณจะต้องการคำสั่งศาล เธอกล่าวว่า

ในกรณีนี้คุณต้องการปรึกษากับทนายความ เพราะมีหลายอย่างที่ศาลจะพิจารณาเมื่อมีการยื่นขอย้ายถิ่นฐาน โดยจะพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ เช่น ความกังวลด้านความปลอดภัย หรือการย้ายที่อยู่เพื่อให้อยู่อาศัยใกล้กับครอบครัวมากขึ้น การต้องการความช่วยเหลือ หรือการพิจารณาปัจจัยทางการเงิน
สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับทนายความก่อนตัดสินใจ ถ้าคุณรู้สึกกดดันที่ต้องทำข้อตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดในการเลี้ยงดูบุตร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังประสบกับความรุนแรงในครอบครัว


อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 






Share