คุณอาจช่วยชีวิตคนอื่นได้เพียงใช้เวลาไม่กี่นาที

Dialysis patient Leang Ly and her son, Raymond (ISBS).jpg

คุณเหลียงผู้ป่วยโรคไตและเรย์มอนด์ลูกชายของเธอ Source: SBS

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

เวลาเพียง 1 นาที อาจช่วยชีวิตคนได้ 1 คน ข้อความเนื่องในสัปดาห์การบริจาคชีวิตเพื่อเรียกร้องให้ประชาชนออสเตรเลียลงทะเบียนบริจาคอวัยวะ เพิ่มอัตราการปลูกถ่ายอวัยวะให้สูงขึ้น ข้อมูลเผยการรอการปลูกถ่ายอวัยวะยังคงไม่เพียงพอ หลังวิกฤตโควิดระบาด ผู้เชี่ยวชาญโทษว่าเป็นความไม่มั่นใจกับระบบสาธารณสุข


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คุณเหลียง ลี่ (Leang Ly) ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นผลจากยาที่เธอรับประทานขณะอยู่ในค่ายลี้ภัยเมื่อครั้งยังเด็ก หลังจากครอบครัวหลบหนีออกจากกัมพูชา

คุณเหลียงมีลูกชายอายุ 12 ขวบ

“เขาเป็นเด็กดีมาก โตขึ้นมาก บางครั้งฉันรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องไม่ยุติธรรมสำหรับเขา เพราะฉันไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรกับเขาได้มากนัก เราต้องค่อยเป็นค่อยไปในตอนนี้ มันน่ากลัวในบางครั้ง บางครั้งมันค่อนข้างน่าหดหู่ คุณไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคน คุณไม่รู้ว่าจะรับมืออย่างไร”
คุณเหลียงต้องฟอกไตเป็นเวลา 6 ชั่วโมงต่อวัน ต้องอาศัยเครื่องกรองเลือด ขณะที่ต้องทำงานและดูแลครอบครัว

เรย์มอนด์ลูกชายของเธอยินดีที่จะช่วยแม่ของเขา

“ผมจะช่วยแม่ทุกครั้งที่แม่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น ซักผ้า”
หลายครั้งเรย์มอนด์จะพูดว่า แม่ เราทำได้ มันจะดีขึ้น
คุณเหลียงผู้รอการบริจาคไตพูดถึงลูกชายที่ให้กำลังใจเธอ
health,sick-patient with lv line-pexels-anna-shvets.jpg
มือผู้ป่วยและสายน้ำเกลือในห้องผ่าตัด Credit: Pexels/Anna Shvets
คุณเหลียงรอคอยการปลูกถ่ายไตมาเป็นเวลา 5 ปี

เธอเป็นหนึ่งในประชากรออสเตรเลียกว่า 1,800 คนที่อยู่ในรายชื่อผู้รออวัยวะ และเป็นหนึ่งใน 140,000 คนที่ต้องฟอกไต และเราสามารถช่วยเหลือได้

ด้วยการลงทะเบียนเป็นผู้บริจาคอวัยวะ เพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น

ศาสตราจารย์สตีฟ แชดบัน (Steve Chadban) ผู้อำนวยการแผนกไตแห่งโรงพยาบาลรอยัล พรินซ์ อัลเฟรด (Royal Prince Alfred Hospital) ที่ซิดนีย์กล่าวว่า

“สิ่งสำคัญสำหรับทุกคนคือความเข้าใจเรื่องการบริจาค คิดถึงเรื่องนี้ ลงทะเบียน และปรึกษากับครอบครัว เพื่อให้ทุกคนทราบว่าพวกเขาจะทำอย่างไร หากเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น”

การลงทะเบียนเพื่อบริจาคอวัยวะใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที และสามารถทำได้ผ่าน

เคยมีจำนวนผู้ที่ได้รับอวัยวะจำนวนมากในระยะ 18-20 ปี ที่ผ่านมา แต่ลดลงอย่างมากในช่วงวิกฤตโควิด

ศาสตราจารย์แชดบันกล่าวว่าอัตราผู้ได้รับอวัยวะยังคงน้อย แม้จะผ่านวิกฤตมาแล้ว 1 ปี

“สิ่งที่เราสังเกตคือที่โควิดระบาดหนักอาจสั่นคลอนศรัทธาของประชาชนที่มีต่อระบบสาธารณสุข ในบางพื้นที่มีอัตราการยินยอมน้อยลงมาก และเราอยากแก้เรื่องนี้จริงๆ เราอยากให้ประชาชนมั่นใจว่าเรามีระบบการดูแลสุขภาพที่ดี ที่จะทำสิ่งที่ดีที่สุดต่อผู้ป่วย ต่อชุมชน และสิ่งสำคัญคือเพิ่มการบริจาคอวัยวะและอัตราการปลูกถ่ายอวัยวะ”
photo-sun-macro photography of grass with water dew-pexels-elias-tigiser.jpg
พระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า น้ำค้างเกาะใบไม้ Credit: Pexels/Elias Tigiser
คุณเจฟ อาหมัด (Jeff Ahmad) ได้รับชีวิตใหม่เมื่อเขาได้รับการปลูกถ่ายไตเมื่อ 3 ปีก่อน หลังจากต้องฟอกไต ทำบายพาสหัวใจและเจอปัญหาหลายประการระหว่างการล็อกดาวน์ช่วงโควิดระบาด
ผมมีชีวิตใหม่เพื่อดูแลครอบครัวต่อไป ดูแลภรรยา ดูแลลูกๆ และทุกๆ วันที่ผมตื่นขึ้นมา ผมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องวิเศษจริงๆ
คุณเจฟกล่าวถึงความรู้สึกหลังได้รับบริจาคอวัยวะ
การบริจาคอวัยวะเป็นของขวัญที่อีกหลายคนคาดหวัง

“ผมหวังว่าแม่ของผมจะดีขึ้น จะได้รับโอกาสครั้งที่สอง เพื่อที่เราจะได้ใช้เวลาด้วยกันมากขึ้น และผมสามารถใช้เวลากับแม่ได้มากขึ้น”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share