แพทองธาร นายกฯหญิงคนล่าสุด ท่ามกลางโลกที่ขาดแคลนผู้นำหญิง

รู้หรือไม่ว่าในโลกการเมืองนั้น ผู้หญิงยังคงมีส่วนน้อยมากที่จะสามารถขึ้นมาอยู่ในระดับผู้นำทางการเมือง และอาจพูดได้ว่า แพรทองธาร เป็นผู้นำประเทศหญิงคนล่าสุดของโลก จากการโหวตของรัฐสภาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา

A woman wearing a black and white top smiles

แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย อายุ 37 ปี ถือเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดของประเทศไทย Source: AP / Sakchai Lalit

ทันทีที่แพทองธาร ชินวัตร ได้รับการโหวตจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของไทย ต่อจากเศรษฐา ทวีสิน นอกจากจะเป็นผู้นำที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ยังถือเป็นผู้นำหญิงคนที่สองต่อจาก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 และนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย
ท่ามกลางกระแสของโลกที่เรียกร้องให้ลดช่องว่างค่าแรงระหว่างเพศชายและหญิง รวมถึงการสนับสนุนให้ผู้หญิงขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำมากขึ้น

แต่รู้หรือไม่ว่าในโลกการเมืองนั้น ผู้หญิงยังคงมีส่วนน้อยมากที่จะสามารถขึ้นมาอยู่ในระดับผู้นำทางการเมือง

ใน ระบุว่าจากจำนวนประเทศสมาชิกของยูเอ็น 193 ประเทศ มีมากถึง 113 ประเทศที่ไม่เคยมีผู้นำเป็นผู้หญิง

นั่นหมายความว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศในโลกนี้ที่ไม่เคยมีผู้นำหญิงมากก่อนเลย ซึ่งรวมถึงประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐเมริกาด้วย

A older man in a suit and a younger woman wearing white smile
ทักษิณ ชินวัตร และลูกสาวคนเล็ก แพทองธาร นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย Source: AP / Sakchai Lalit

มีเพียง 26 ประเทศจาก 193 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติที่มีผู้นำประเทศเป็นผู้หญิง (แน่นอนว่า ไทยคือ หนึ่งใน 26 ประเทศนั้น) ซึ่งเม็กซิโกคือประเทศล่าสุดที่มีผู้นำเป็นผู้หญิง โดยมี คลอเดีย เชนบอม (Claudia Sheinbaum) ประธานาธิบดีคนใหม่เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของเม็กซิโก โดยเธอจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ และอาจพูดได้ว่า แพทองธาร อาจเป็นผู้นำประเทศหญิงคนล่าสุดของโลก

ประเทศในยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีผู้นำหญิงมากที่สุด ขณะที่บังคลาเทศอยู่ในท็อปต้นๆ ของประเทศที่มีผู้นำหญิงที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด

ด้านออสเตรเลียเคยมีนายกรัฐมนตรีหญิงเพียงคนเดียวเท่านั้น นั่นคือ ส่วนนิวซีแลนด์ประเทศเพื่อนบ้านมีมาแล้วทั้งสิ้น 3 คน

ปากีสถานเคยมีนายกรัฐมนตรีหญิงคือ เบนาซีร์ บุตโต (Benazir Bhutto) ซึ่งดำรงตำแหน่งมาแล้วถึงสองครั้งในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 ถือเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลของประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม และเช่นเดียวกับอาร์เดิร์น (อดีตนายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์) เธอยังให้กำเนิดบุตรระหว่างดำรงตำแหน่งอีกด้วย

หลายประเทศทั่วโลกจะมีการจัดการเลือกตั้ง เราก็ต้องมาลุ้นดูกันว่าจะมีประเทศไหนสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ มีผู้นำเป็นผู้หญิงอีกบ้าง จะเป็นมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐอเมริกาหรือไม่

Share
Published 21 August 2024 4:22pm
Updated 21 August 2024 4:28pm
Presented by Warich Noochouy
Source: SBS

Share this with family and friends