A map of Australia with a search bar reading saying 'enter your suburb'
A map of Australia with a search bar reading saying 'enter your suburb'
This article is more than 1 year old

Interactive

ความพหุวัฒนธรรมในย่านที่คุณอาศัยอยู่เป็นอย่างไร

ออสเตรเลียกำลังมีความเป็นพหุวัฒนธรรมมากขึ้น มารู้จักถิ่นกำเนิด ภาษา และศาสนาของผู้คนในพื้นที่ของคุณและใกล้เคียง

Published 17 October 2022 8:31pm
By Charis Chang, Ken Macleod
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS
ความเป็นพหุวัฒนธรรมในย่านที่คุณอาศัยเป็นอย่างไร
  • ประมาณ 28% ของผู้คนในออสเตรเลียเกิดในต่างประเทศ และเกือบครึ่งหนึ่งในจำนวนั้นมีพ่อแม่ที่เกิดในต่างแดน
  • มารู้จักถิ่นกำเนิด ภาษา และศาสนาของผู้คนในพื้นที่ของคุณและใกล้เคียง ผ่านแผนที่อินเตอร์แอคทีฟ
ในออสเตรเลียวันนี้ มีผู้คนประมาณร้อยละ 28 ที่เกิดในต่างประเทศ และเกือบครึ่งหนึ่งที่มีพ่อแม่ที่เกิดในต่างประเทศ แต่ในบางพื้นที่มีอัตราส่วนที่สูงกว่านั้นมาก

ใน ที่ได้เผยแพร่ในปีนี้ได้เปิดเผยว่า ออสเตรเลียได้ต้อนรับผู้อพยพย้ายถิ่นใหม่มากกว่า 1 ล้านคนตั้งแต่ปี 2017 โดยมีประมาณ 220,000 คนมาจากอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศกำเนิดนอกออสเตรเลียที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดเลยจีนและนิวซีแลนด์ เป็นประเทศกำเนิดสูงสุดอันดับ 3 รองลงมาจากออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร

ค้นหาในแผนที่อินเตอร์แอคทีฟนี้เพื่อดูถิ่นกำเนิดติดอันดับสูงสุดในย่านที่คุณอาศัย (ไม่รวมออสเตรเลีย) อ่านบทความนี้ต่อไปเพื่อเรียนรู้อีก 2 แผนที่เกี่ยวกับภาษาและศาสนาในย่านต่าง ๆ
เมื่อพูดถึงจำนวนเชื้อชาติต่าง ๆ ย่านพอยท์ คุก (Point Cook) ของนครเมลเบิร์นติดอันดับความเป็นพหุวัฒนธรรมมากที่สุด มีผู้คนที่เกิดจาก 146 ประเทศ ตามมาด้วยพื้นที่เมืองชั้นในของนครเมลเบิร์น (Melbourne) 137 ประเทศ และย่านแบล็กทาวน์ (Blacktown) และมารูบรา (Maroubra) ของนครซิดนีย์ 133 ประเทศ

คงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจสำหรับชาวซิดนีย์ที่เฮย์มาร์เก็ต (Haymarket) ย่านเมืองชั้นใน ซึ่งเป็นที่รู้จักดีจากสถานที่ตั้งของไชน่าทาวน์ และเป็นบ้านของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจำนวนมาก มีสัดส่วนของผู้มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศสูงที่สุด เมื่อเทียบกับพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีผู้อาศัยมากกว่า 1,000 คน ร้อยละ 78 ของประชาชนในย่านนี้เกิดในต่างประเทศ และมาจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงร้อยละ 21 จากจีน ร้อยละ 17 จากประเทศไทย ร้อยละ 11 จากอินโดนีเซีย และอย่างละร้อยละ 3 จากมาเลเซียและเกาหลี

แต่ในทางตรงกันข้าม พื้นที่ซึ่งมีสัดส่วนของประชากรที่เกิดในต่างประเทศน้อยที่สุด (ในพื้นที่ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 1,000 คน) รวมถึงชุมชนชาวอะบอริจินต่าง ๆ อย่างเชอร์โบร์ก (Cherbourg) และยาร์ราบาห์ (Yarrabah) ในรัฐควีนส์แลนด์ และย่านมิลินกิมบิ (Milingimbi) ในมณฑลนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี

อย่างไรก็ดี มีจุดสังเกตว่าการไม่รวมจำนวนผู้ที่เกิดในออสเตรเลียในแผนที่ดังกล่าว ไม่มีความเกี่ยวข้องกับจำนวนประชากร 812,728 คน (หรือร้อยละ 3.2 ของประชาชนในออสเตรเลีย) ที่ระบุว่าตนเป็นชาวอะบอริจิน และชาวเกาะทอเรส สเตรท

ส่วนในเรื่องของภาษานั้น การสำรวจสำมะโนประชากรระบุชี้ว่า มีมากกว่า 350 ภาษาที่พูดกันทั่วออสเตรเลีย ซึ่งรวมถึงภาษาของชาวอะบอริจินและชาวเกาะทอเรส สเตรท 167 ภาษา โดยส่วนหนึ่งของข้อมูลนี้ปรากฏอยู่ในแผนที่ซึ่งอยู่ด้านล่าง

จำนวนของผู้ที่ใช้ภาษาอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษในที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นจากเกือบ 800,000 คนตั้งแต่ปี 2016 เป็นมากกว่า 5.5 ล้านคนในการสำรวจสำมะโนประชากรล่าสุด มีประชาชนประมาณ 850,000 คนในออสเตรเลียที่ระบุว่าพวกเขาพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ดี หรือพูดไม่ได้เลย

ค้นหาแผนที่ด้านล่างเพื่อดูว่าย่านที่คุณอาศัยพูดภาษาใดมากที่สุด
  • ภาษาจีนกลาง (Mandarin) ยังคงเป็นภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาอังกฤษที่พูดกันมากที่สุดภายในบ้านในออสเตรเลีย มีผู้พูดภาษานี้เกือบ 700,000 คน รองลงมาคือภาษาอาหรับ (Arabic) มีผู้ใช้ภาษานี้ภายในบ้านมากกว่า 367,000 คน
  • ภาษาปัญจาบ (Punjabi) ซึ่งพบได้ทั่วไปในอินเดียและปากีสถาน มีผู้พูดมากกว่า 239,000 คนที่บ้านในการสำรวจสำมะโนประชากรล่าสุด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2016 ที่ผ่านมาถึงร้อยละ 80 นับเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุด
นอกจากนี้ การสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดยังให้ความสนใจไปในเรื่องของศาสนาด้วย โดยพบว่าจากประชากรในออสเตรเลียทั้งหมด
  • ร้อยละ 43.9 ระบุว่าศาสนาของพวกเขาคือศาสนาคริสต์ (เทียบกับร้อยละ 52.1 เมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา)
  • ร้อยละ 38.9 ระบุว่าตน “ไม่มีศาสนา” (เทียบกับร้อยละ 30.1 เมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา)
  • ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 3.2
  • ศาสนาฮินดู ร้อยละ 2.7
  • ศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.4
เกือบทั้งหมด 10 ย่านชานเมืองติดอันดับเคร่งศาสนาในออสเตรเลีย พบว่าตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือในกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ซิดนีย์ตะวันตก (Western Sydney) และมีอัตราประชากรผู้อพยพย้ายถิ่นในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย

ค้นหาในแผนที่ด้านล่างเพื่อดูว่าศาสนาใดบ้างที่มีผู้นับถือมากที่สุดในย่านที่คุณอาศัย
เกาะกาลิวิงกู (Galiwinku) นอกชายฝั่งภูมิภาคอาร์เฮม แลนด์ (Arhem Land) ในมณฑลนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ติดอันดับพื้นที่ซึ่งมีความเลื่อมใสทางศาสนามากที่สุด ผู้คนร้อยละ 90 ที่นั่นระบุว่าพวกเขามีศาสนา มีการตั้งคณะเผยแพร่ศาสนานิกายเมธอดิสท์ขึ้นครั้งแรกในพื้นที่เมื่อปี 1942 มีประชาชนประมาณร้อยละ 47 ที่ปฏิบัติตามคริสตจักรเอกภาพ (Uniting Church) ขณะที่ร้อยละ 26 ระบุว่าพวกเขายึดหลักตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวอะบอริจิน

หลายย่านในพื้นที่ซิดนีย์ตะวันตกยังแสดงความศรัทธาในศาสนาที่เหนียวแน่น
  • บังการิบี (Bungarribee) ประชากรร้อยละ 34 นับถือศาสนาฮินดู
  • เอลิซาเบธ ฮิลส์ (Elizabeth Hills) ประชากรร้อยละ 44 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
  • เมาท์ เลวิส (Mount Lewis) ประชากรร้อยละ 40 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
  • เกอร์ราวีน (Girraween) ประชากรร้อยละ 52 นับถือศาสนาฮินดู
  • แอบบอตส์เบอรี (Abbotsbury) ประชากรร้อยละ 53 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
  • เมาท์ เวอร์นอน (Mount Vernon) ประชากรร้อยละ 58 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
  • คานส์ ฮิล (Carnes Hill) ประชากรร้อยละ 37 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
ย่านชานเมืองเหล่านี้ ยกเว้นเมาท์ เวอร์นอน (Mount Vernon) มีอัตราประชากรที่เกิดในต่างประเทศสูงกว่าค่าเฉลี่ยของออสเตรเลียที่ร้อยละ 27.6

นอกจากนี้ ยังมีย่านชานเมืองร็อกซ์เบิร์ก พาร์ค (Roxburgh Park) ทางตอนเหนือของเมลเบิร์น ซึ่งประชาชนร้อยละ 34 นับถือศาสนาอิสลาม และย่านเวอร์รูมิยังกา (Wurrumiyanga) ชุมชนชาวอะบอริจินบนเกาะทิวิ (Tiwi Island) และอดีตที่ตั้งของคณะเผยแพร่ศาสนาคาทอลิก ซึ่งมีประชาชนร้อยละ 82 ที่ยังระบุว่าพวกเขานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
ในย่านแฮริส พาร์ค (Harris Park) ซึ่งมีอัตราร้อยละของประชากรที่เกิดในต่างประเทศสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ชุมชนของผู้มีถิ่นกำเนิดในอินเดียคิดเป็นร้อยละ 45 ของประชากรทั้งหมดที่นี่ ร้อยละ 47 ของผู้คนในชุมชนนี้ระบุว่าพวกเขานับถือศาสนาฮินดู โดยรวมแล้ว ประชากรในย่านนี้ร้อยละ 75 มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ

แม้ประชาชนจำนวนมากจะเกิดในอินเดีย แต่ก็มีความหลากหลายภายในชุมชนอีกมาก มีประชาชนที่พูดภาษาตระกูลอินเดียเป็นวงกว้าง
  • ร้อยละ 15 พูดภาษาคุชราต (Gujarati)
  • ร้อยละ 12 พูดภาษาฮินดี (Hindi)
  • ขณะที่ผู้พูดภาษาปัญจาบ (Punjabi)
  • เนปาล (Nepali) และเตลูกู (Telugu) รวมกันแล้วคิดเป็นประมาณร้อยละ 6 แต่ละภาษา
ดร.ลิซ อัลเลน (Dr Liz Allen) นักประชากรศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) กล่าวว่า ความหลากหลายของภาษาได้แสดงให้เห็นว่าชุมชนต่าง ๆ ที่ผู้คนมักคิดว่าเป็นกลุ่มเดียวนั้นมีความหลากหลายได้อย่างไร

“สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับความหลากหลายที่เราได้เห็นในที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ซิดนีย์ตะวันตกนั้นก็คือ แม้จะเป็นผู้คนจากประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ก็ยังมีความแตกต่างกัน” ดร.อันเลน กล่าว

“ดังนั้นมันมีความหลากหลาย แม้ในหมู่ประชากรที่อาจมีความคล้ายคลึงกันมากเมื่อดูจากภายนอก แต่ก็มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก”

ดร.อัลเลน เสริมว่า ยังมีจุดที่ควรสังเกต นั่นก็คือ แม้ผู้คนจะบอกว่าพวกเขานับถือและระบุตนเองเข้ากับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะเป็นเช่นนั้นเสมอไปในความเป็นจริง

“ในหลายกรณี สิ่งที่เราอ้างถึงเกี่ยวกับคำถามเรื่องศาสนาในการสำรวจสำมะโนประชากรอาจสะท้อนถึงการเลี้ยงดู แต่อาจไม่ได้สะท้อนถึงสิ่งที่เราเป็น “ในตอนนี้” ดร.อันเลน กล่าว
ในหลายกรณี สิ่งที่เราอ้างถึงเกี่ยวกับคำถามเรื่องศาสนาในการสำรวจสำมะโนประชากรอาจสะท้อนถึงการเลี้ยงดู แต่อาจไม่ได้สะท้อนถึงสิ่งที่เราเป็น 'ในตอนนี้'
ดร.ลิซ อัลเลน (Dr Liz Allen) นักประชากรศาสตร์
“เมื่อศาสนาผูกพันกับวัฒนธรรมของเราอย่างใกล้ชิด บ่อยครั้งที่เราอาจประสบกับความรู้สึกถูกบีบบังคับที่ต้องพูดว่าเราอยู่ในศาสนาใดศาสนาหนึ่ง เมื่อเราไม่ต้องการปฏิบัตินับถือมัน”

เธอกล่าวว่า พ่อแม่มักระบุศาสนาให้กับบุตรหลานของตนเอง และผู้คนก็มีแนวโน้มที่จะบอกว่าพวกเขามีศาสนาหลังการแต่งงานเสียมากกว่า เนื่องจากเป็นอุดมคติของครอบครัว แต่เมื่ออายุมากขึ้น ก็เป็นไปได้มากที่พวกเขาจะบอกว่าไม่เคร่งกับศาสนา
โคเวธาน (Goverdhan) ประชาชนในย่านเกอร์ราวีน (Girraween) ซึ่งเกิดในประเทศอินเดีย กล่าวว่า เขาไม่คิดว่าศาสนามีส่วนสำคัญอย่างมากต่อชุมชน ถึงแม้เขาจะเข้าวัดฮินดูใกล้บ้านในเมืองเวสมีด (Westmead) เขาบอกว่า ชุมชนชาวอินเดียกลุ่มใหญ่คือเหตุผลหนึ่งที่ดึงให้เขามาอาศัยอยู่ที่นี่เมื่อ 7 ปีก่อน แต่จุดหลัก ๆ ก็คือความใกล้กับย่านพารามัตตา (Parramatta) ซึ่งเป็นย่านซีบีดีแห่งที่ 2 ของซิดนีย์ รวมถึงเรื่องการเดินทาง การจับจ่ายซื้อของ และโรงเรียนที่ดี

พื้นที่เหล่านี้ยังอยู่ใกล้กับย่านแฮร์ริส พาร์ค อีกด้วย ซึ่งมีจำนวนประชากรที่เกิดในอินเดียเป็นจำนวนมาก
A group of men standing outside. Some of them are holding an Indian flag.
คุณโคเวธาน (ด้านหน้าซ้ายในชุดสีเหลือง) พร้อมสมาชิกชาวรัฐเตลังคานาในออสเตรเลีย (The Australian Telangana Forum) ในนครซิดนีย์ Source: Supplied / Charis Chang
พื้นที่เหล่านี้ยังอยู่ใกล้กับย่านแฮร์ริส พาร์ค อีกด้วย ซึ่งมีจำนวนประชากรที่เกิดในอินเดียเป็นจำนวนมาก

โคเวธาน คือหนึ่งในร้อยละ 7 ของประชาชนท้องถิ่นที่ย่านนี้ซึ่งพูดภาษาเตลูกู ภาษาเก่าแก่ของอินเดียที่ยังคงพูดกันอยู่ในบางรัฐ แม้ว่าเขาจะเข้าใจและพูดภาษาฮินดีซึ่งใช้กันทั่วไปในอินเดียได้ก็ตาม เขากล่าวว่า ได้เริ่มต้นตั้งเพจเฟซบุ๊กสำหรับชุมชนชาวอินเดียในท้องถิ่น เนื่องจากต้องการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารเรื่องการศึกษา เทศกาล และข่าวสารอื่น ๆ

“เราทั้งหมดมาจากที่เดียวกัน เรามีความคิดเหมือนกัน และมีเรื่องดี ๆ เพื่อแบ่งปัน” คุณโคเวธาน กล่าว

เขาอาศัยอยู่ในออสเตรเลียมาเป็นเวลา 14 ปี และเขายังได้ต่อยอดเส้นทางอาชีพออกไปในเส้นทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

“ผมมีการงานที่ดีที่นี่ มันคือชุมชนที่ดี ประเทศและผู้คนสวยงาม และมีระบบเศรษฐกิจที่ดี” คุณโคเวธาน กล่าว

“ออสเตรเลียคือประเทศพหุวัฒนธรรม เราชื่นชอบทุกวัฒนธรรม และผู้คนทุกคน”
ทั่วออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรยังคงเป็นถิ่นกำเนิดนอกออสเตรเลียที่พบได้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4 ของประชาชนทั้งประเทศ ตามมาด้วยอินเดีย (ร้อยละ 3) จีน และนิวซีแลนด์ (ร้อยละ 3 ต่อประเทศ)

และยังมีถิ่นกำเนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่รู้จัก โดยสัดส่วนของแต่ละประเทศคิดเป็นร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม แอฟริกาใต้ มาเลย์เซีย อิตาลี และศรีลังกา

ประมาณร้อยละ 72 ของประชากรในออสเตรเลียระบุว่าพวกเขาพูดภาษาอังกฤษที่บ้าน
Rear view of two men standing on a beach and wearing swimwear featuring a Union Jack design
ชาวออสเตรเลียประมาณ 4% เกิดในสหราชอาณาจักร และร้อยละ 72 พูดภาษาอังกฤษในบ้าน Source: Getty / James D. Morgan
ศาสตราจารย์ เจมส์ เรย์เมอร์ (James Raymer) จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) กล่าวว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นจากอังกฤษจำนวนมากได้มาอยู่ในออสเตรเลียเป็นเวลานานแล้ว และแตกต่างจากผู้อพยพที่มาจากจีนและอินเดีย ซึ่งโดยส่วนมากเป็นผู้อพยพที่เพิ่งมาถึงใหม่

“หากคุณดูในเรื่ององค์ประกอบอายุของผู้อพยพย้ายถิ่นตามประเทศกำเนิด อังกฤษมีผู้คนจำนวนมากที่อยู่ในวัยระหว่าง 60, 70, 80, 90 ปี ขณะที่อินเดียและจีนแทบไม่มีใครในกลุ่มอายุนี้เลย” ศาสตราจารย์เรย์เมอร์ กล่าว

ประชากรที่เกิดในสหราชอาณาจักรยังอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายมากกว่า ไม่มีพื้นที่ใดในออสเตรเลียที่มีประชากรกลุ่มนี้ถึงร้อยละ 1 จากทั้งหมด โดยพื้นที่ซึ่งมีประชากรที่เกิดในสหราชอาณาจักรมากที่สุด ได้แก่ บัลดิวิส (Baldivis) ทางตอนใต้ของนครเพิร์ท ตามมาด้วยพื้นที่ริมชายฝั่งอย่างมอสแมน (Mosman) ในซิดนีย์ และมอร์นิงตัน (Mornington) ในรัฐวิกตอเรีย และย่านร็อกกิงแฮม (Rockingham) ในนครเพิร์ท

อนาคตของความเป็นพหุวัฒนธรรมในออสเตรเลีย

อีกแหล่งผู้อพยพย้ายถิ่นซึ่งเป็นที่รู้จักคือประเทศเนปาล ซึ่งบันทึกการเพิ่มขึ้นใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุด มีผู้คนจากเนปาลอีกเกือบ 70,000 คนที่เดินทางมาถึงออสเตรเลียตั้งแต่ปี 2017 คิดเป็นจำนวนมากกว่า 2 เท่าของประชากรจากประเทศดังกล่าวเมื่อปี 2016

ดร.อัลเลน กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์มีจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นจากเนปาลในออสเตรเลียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งทำให้การเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ดูเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นภาพสะท้อนถึงสภาพทางเศรษฐกิจในเนปาลที่ดีขึ้น ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้คนเดินทางไปต่างประเทศ และส่งบุตรหลานมาเรียนในมหาวิทยาลัยของออสเตรเลียได้ ขณะที่สมาชิกในชุมชนชาวเนปาลก็ได้กระจายออกไปเป็นวงค่อนข้างกว้าง แต่กลุ่มที่ใหญ่กว่านั้นจะอยู่ในย่านออเบิร์น (Auburn) เฮิร์สท์วิลล์ (Hurstville) และสตราธฟีลด์ (Strathfield) ในนครซิดนีย์

ศาสตราจารย์เรย์เมอร์ กล่าวอีกว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นที่ย้ายมาออสเตรเลียนั้นพูดภาษาที่แตกต่างกัน และการนับถือศาสนาที่แตกต่างกันไปนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่
Pedestrians walk across the street
ชาวออสเตรนั้นมาจากหลากหลายประเทศ
“มันเคยเป็นเรื่องใหญ่เมื่อโรมันคาทอลิกเริ่มเข้ามาในออสเตรเลีย ... สำหรับผม มันคือเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำ ทั้งกลุ่มผู้อพยพย้ายถิ่น การไหลเข้ามา การเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาที่ผ่านไป ทุกอย่างมีขึ้นและก็มีลง” ศาสตราจารย์เรย์เมอร์ กล่าว

เขากล่าวอีกว่า ในอนาคต ผู้คนจากประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกา อาจรวมกันเป็นคลื่นผู้อพยพย้ายถิ่นมายังออสเตรเลียที่แข็งแรงขึ้น เนื่องจากพวกเขาเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะที่ประเทศอื่น ๆ รวมถึงจีน และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกกำลังประสบปัญหากับประชากรที่ลดลง

ศาสตราจารย์เรย์เมอร์ยอมรับว่า ออสเตรเลียเคยมีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการปรัวตัวเข้ากับการอพยพย้ายถิ่นมาแล้วหลายครั้ง เขาเสริมว่า “แต่ในระยะยาว ลูก ๆ ของพวกเขาจะเติบโตในออสเตรเลีย ... พวกเขาจะไปเรียนในโรงเรียนของออสเตรเลีย และพวกเขาก็จะกลายเป็นชาวออสเตรเลีย”

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นที่ ๆ คุณอาศัย ภาษาที่พูด และเรียนรู้ว่าออสเตรเลียจะเปลี่ยนไปอย่างไรจากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2021 ใน

Share