กลยุทธ์ด้านโควิดของออสเตรเลียกำลังเปลี่ยนไปแต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนอย่าชะล่าใจ

อนาคตของการบริหารจัดการโควิด-19 ในออสเตรเลียกำลังเปลี่ยนไปสู่ระยะใหม่ ขณะที่มีการผ่อนคลายกฎระเบียบมากขึ้น แต่นักระบาดวิทยาเตือนว่าออสเตรเลียควรระมัดระวังเกี่ยวกับโควิด-19 ต่อไป

Australia's covid strategy is changing.

Source: SBS News

นักระบาดวิทยาเตือนว่า ขณะที่มีการยกเลิกกฎโควิด-19 รวมถึงการยกเลิกการกักตัวในโรงแรมในรัฐนิวเซาท์เวลส์และวิกตอเรีย ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดของออสเตรเลียนั้น  แต่ออสเตรเลียก็ควรให้ความสำคัญกับมาตรการอื่นๆ เพื่อรับมือกับการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ที่อันตรายยิ่งขึ้น

พวกเขากล่าวว่ามาตรการเหล่านั้นควรรวมถึงการเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในออสเตรเลีย และการให้สนับสนุนมากขึ้นแก่โครงการต่างๆ ด้านความเท่าเทียมด้านวัคซีนทั่วโลก เพื่อให้แน่ใจได้ว่าการฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สองนั้นเพิ่มขึ้นในประเทศยากจนต่างๆ

อัตราการฉีดวัคซีนเข็มที่สามของออสเตรเลียอยู่ที่ร้อยละ 69 ของประชากรที่มีสิทธิ์ ซึ่งเป็นระดับที่ศาสตราจารย์เอเดรียน เอสเทอร์แมน นักระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลียกล่าวว่า "เลวร้าย"

"ก็แค่ว่า เราไม่มีผู้คนมากพอไปรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น”  ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมน กล่าว “มันค้างอยู่ที่ 65 เปอร์เซ็นต์ หรือ 67 เปอร์เซ็นต์มาหลายเดือนแล้ว และความจริงแล้วเป็นวัคซีนเข็มที่สามที่ปกป้องผู้คน แค่สองเข็มนั้นไม่เพียงพอ”
ความจริงแล้วเป็นวัคซีนเข็มที่สามที่ปกป้องผู้คน แค่สองเข็มนั้นไม่เพียงพอ
"วัคซีนสองเข็มแทบจะไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเลย แต่ป้องกันอย่างดีไม่ให้เจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต แต่การปกป้องจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป"

"และจริงๆ แล้ว เป็นวัคซีนเข็มที่สามที่จะช่วยบรรเทาสถานการณ์ลง และทำให้แน่ใจได้ว่าระบบการดูแลสุขภาพของเราจะไม่มีคนไข้ล้นระบบ"
ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ประกาศผ่อนคลายกฎข้อบังคับเกี่ยวกับโควิด-19 พญ.แคร์รี ชานต์ ประธานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐนิวเซาท์เวลส์ เตือนให้ประชาชนไปรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นและวัคซีนไข้หวัดใหญ่หากมีสิทธิ์ และกล่าวต่อไปว่าทางการเชื่อว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะยกเลิกมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับโควิด-19

"เรากำลังเข้าสู่ระยะที่เราต้องการให้ชุมชนเข้าใจถึงความเสี่ยงได้ดีขึ้น เข้าใจมากขึ้นว่าจะประเมินความเสี่ยงได้อย่างไร และใช้วิธีการที่รอบคอบและเหมาะสมเพื่อปกป้องตนเองให้ปลอดภัย" พญ.แคร์รี ชานต์ กล่าว

“เราต้องการใช้แนวทางที่ระมัดระวังและสมน้ำสมเนื้อ ขณะที่เราก้าวเข้าสู่เดือนที่อากาศหนาวเย็น ซึ่งเรารู้ว่าอาจมีไข้หวัดใหญ่แพร่ระบาดในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งยังมีโควิดอยู่”

ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายนเป็นต้นมา ได้มี รวมถึงการยกเลิกข้อกำหนดการกักตัวสำหรับผู้พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ และกฎให้ต้องแสดงสถานะการฉีดวัคซีนก่อนเข้าสถานที่ต่างๆ

ได้มีการมาแล้ว และจะมีการผ่อนคลายกฎเพิ่มเติมสำหรับผู้โดยสารในเที่ยวบินที่เดินทางมายังออสเตรเลีย โดยตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ผู้เดินทางที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนในรัฐนิวเซาท์เวลส์และวิกตอเรียจะไม่ต้องกักตัวในโรงแรมอีกต่อไป ส่วนข้อกำหนดการตรวจเชื้อก่อนเดินทางสำหรับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศนั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว และจะขยายไปยังลูกเรือสายการบินที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนในรัฐวิกตอเรีย

เมื่อเดินทางมาถึง มีข้อกำหนดให้ผู้เดินทางจากต่างประเทศต้องตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจเชื้อด้วยตนเองแบบทราบผลรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ส่วนในรัฐวิกตอเรียผู้เดินทางจากต่างประเทศที่แม้จะไม่มีอาการป่วยใดๆ แต่จะได้รับคำแนะนำให้ตรวจเชื้อ แต่ไม่บังคับให้ต้องตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจเชื้อด้วยตนเองหรือตรวจเชื้อแบบพีซีอาร์ (PCR)

'ช่วงเปลี่ยนผ่าน'

ศาสตราจารย์แคทเทอรีน เบ็นเนตต์ นักระบาดวิทยา กล่าวว่า ออสเตรเลียกำลังเข้าสู่ "ช่วงเปลี่ยนผ่าน" ในการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และนั่นจะหมายถึงการทบทวนการกำหนดนโยบายต่างๆ

"เราจะไปถึงจุดที่เราเห็นว่าการระบาดระลอกต่างๆ ไม่ได้เป็นการมีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกต่อไป จุดที่มีช่วงเวลาที่ยาวนานขึ้นที่เราไม่เห็นสายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวลสายพันธุ์ใหม่เอี่ยม ที่เราต้องทำความเข้าใจและรับมือ ด้วยการปรับปรุงวัคซีนและอื่นๆ นั่นจะก้าวเข้าสู่แผนระยะยาวยิ่งขึ้น” ศาสตราจารย์เบ็นเนตต์ กล่าว

"ดังนั้นเรากำลังจะไปถึงจุดนั้นในออสเตรเลีย ขณะนี้เรากำลังเปลี่ยนจากกฎข้อบังคับไปเป็นคำแนะนำด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยง เรายังคงมีกฎที่สำคัญบางอย่างบังคับใช้อยู่สำหรับสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่มีความเปราะบางกว่าคนกลุ่มอื่น”
ขณะนี้เรากำลังเปลี่ยนจากกฎข้อบังคับไปเป็นคำแนะนำด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยง
“แต่ในท้ายที่สุดแล้ว เรากำลังตั้งตารอเวลาที่จะมีจุลินทรีย์ก่อโรคชนิดใหม่เพิ่มเติมที่เราจำเป็นต้องบริหารจัดการ และนั่นจะอาศัยการเฝ้าระวังอย่างจริงจัง”

เธอกล่าวว่าออสเตรเลียจำเป็นต้องพัฒนาระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อตรวจจับการอุบัติขึ้นใหม่ของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ที่อันตรายยิ่งขึ้นในหมู่ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ
“นั่นเป็นหนึ่งในแง่มุมที่สำคัญของโรคติดเชื้อหรือจุลินทรีย์ก่อโรค ที่ได้รับการบริหารจัดการ คือการที่เรามีระบบเฝ้าระวังใช้การอยู่” ศ.เบ็นเนตต์ กล่าว

“สิ่งที่เราสามารถดำเนินการอย่างคล่องแคล่วได้ในบางครั้ง หากมีการแจ้งเตือนจากต่างประเทศ เช่น มีเชื้อสายพันธุ์ใหม่ หรือพวกเขามีข้อมูลภายใน หรือเรากำลังเห็นผู้คนมากขึ้นในโรงพยาบาล นั่นคือเวลาที่เราจะสั่งการและให้มีการเฝ้าระวังอย่างแข็งขันมากขึ้นเพื่อให้เห็นภาพที่ใกล้ขึ้นของสถานการณ์ ภาพที่ทันท่วงทียิ่งขึ้นของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประชากรวงกว้าง

"นั่นเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ และนั่นคือเหตุผลที่ฉันว่าเรายังไม่ถึงจุดนั้น เพราะเราไม่ได้มีมาตรการการเฝ้าระวังต่างๆ ใช้การอยู่เลย”

"และเราไม่มีความเข้าใจอย่างเต็มที่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเชื้อไวรัสนี้หลังคลื่นโอมิครอนผ่านไป ความเข้าใจของเรายังไม่มากพอที่จะสามารถพูดได้ว่าเราได้เตรียมตัวพร้อมแล้วและก้าวต่อไปได้"

การเปลี่ยนแปลงคำจำกัดความของ 'การฉีดวัคซีนครบสมบูรณ์'

ศาสตราจารย์เบนเน็ตต์กล่าวว่า จำเป็นต้องมีการพิจารณาทางเลือกต่างๆ ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ รวมถึง ควรหรือไม่ที่จะเปลี่ยนคำจำกัดความของ "การฉีดวัคซีนครบสมบูรณ์"  (fully vaccinated) จากการได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 สองเข็ม เป็นสามเข็ม สำหรับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามายังออสเตรเลีย

“นั่นอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่พวกเขานำไปใช้ได้หากพบปัญหาในหมู่ผู้คนที่เดินทางเข้ามาและพวกเขาไม่สามารถทำงานที่เดินทางเข้ามาทำได้ หรือพวกเข้ามาในออสเตรเลียแต่ลงเอยในโรงพยาบาล ตอนนั้นเราอาจเห็นแนวโน้มที่ชัดเจนที่เราต้องบอกว่า เพื่อประโยชน์ของพวกเขาเอง เราจึงต้องปรับกฎให้รัดกุมขึ้น" ศาสตราจารย์เบนเน็ตต์ กล่าว

ได้มีการตรวจพบซากของเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่ของโอมิครอน คือเชื้อ แต่ศาสตราจารย์เบนเน็ตต์กล่าวว่าเชื้อกลายพันธุ์เหล่านี้ไม่ได้แตกต่างจากเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนมากนัก และในขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับโควิด-19 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

แต่นั่นอาจเปลี่ยนแปลงได้หากมีการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ที่แตกต่างออกไปอย่างมาก และเชื้อเหล่านี้มาเข้ามาสู่ออสเตรเลียจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ

“ในสถานการณ์นั้น สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกแล้วจะส่งผลกระทบต่อเรา หมายความว่าเรามีโอกาสไม่มากก็น้อย ที่จะเห็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่เดินทางมาถึงดินแดนของเรา ซึ่งอาจมาจากประเทศหนึ่งในต่างประเทศ ที่อาจมีการควบคุมการติดเชื้อน้อยกว่า หรือจากผู้คนที่กำลังเดินทางมายังประเทศของเราในฐานะผู้มาเยือน หรือในฐานะคนงาน หรือในฐานะนักเรียน ความเสี่ยงของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเราช่วยบริหารจัดการเรื่องนี้ในระดับโลก” ศ.เบ็นเนตต์ กล่าว

“ดังนั้น ในเรื่องโรคติดเชื้อแล้ว คุณไม่สามารถมองแค่ภายในสวนหลังบ้านของเราได้ แต่เราต้องมองไปที่โลกเพื่อบริหารจัดการกับโรคติดต่อ และเป็นเช่นนั้นอย่างแท้จริงสำหรับโควิด”

ทำไมผู้คนจึงไม่ไปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่สาม?

แม้ว่าอัตราประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนสำหรับเข็มแรกและเข็มที่สองจะมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ แต่อัตราสำหรับเข็มที่สามนั้นต่ำกว่ามาก โดยอยู่ที่ 69 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่มีสิทธิ์

ชาวออสเตรเลียอย่างน้อย 215,070 คนได้รับวัคซีนแล้วสี่เข็ม เพิ่มขึ้น 52,590 คนในช่วงสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 18 เมษายน

ปัจจุบัน วัคซีนต้านโควิด-19 เข็มที่ 4 มีให้เฉพาะกับคนบางกลุ่มเท่านั้น รวมถึงกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

รองศาสตราจารย์ ฮอลลี ซีล เป็นนักวิจัยทางสังคมด้านโรคติดเชื้อที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า มีความสับสนเกี่ยวกับความเร่งด่วนในการได้รับวัคซีนกระตุ้น ท่ามกลางนโยบายการเปิดเมือง เช่น การอนุญาตให้มีการเดินทางระหว่างประเทศอย่างเสรีอีกครั้ง และการกลับไปทำงานที่สำนักงาน

“สิ่งสำคัญคือเราจำเป็นต้องพูดให้ชัดเจนกับชุมชนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องทำ และต้องอธิบายเหตุผลด้วยว่าทำไมถึงจำเป็น” รองศาสตราจารย์ซีลกล่าว

“ฉันคิดว่าเราจำเป็นต้องระลึกไว้เสมอว่าในระดับสากล เรายังคงเห็นรัฐบาลบางแห่งต้องมาตรการต่างๆ มาใช้บังคับใหม่อีกครั้ง และเป็นการส่งสัญญาณไปยังชุมชนว่าในขณะที่เรารู้สึกว่าเรากำลังอยู่ในช่วงขาลงของสถานการณ์ แต่สิ่งต่างๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้"

ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนกล่าวว่ารัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐจำเป็นต้องทำได้ดีกว่านี้ในการอธิบายว่าเหตุใดวัคซีนเข็มที่สามจึงสำคัญ

“มันขึ้นอยู่กับรัฐบาลต่างๆ ของเราที่จะส่งสารได้อย่างดีเยี่ยม เพื่ออธิบายว่าเหตุใดวัคซีนเข็มที่สามจึงจำเป็น เพราะมีความชะล่าใจอยู่มากมาย” ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมน กล่าว

“ผมคิดว่ากุญแจสำคัญที่นี่คือ เราต้องปกป้องกลุ่มคนที่เปราะบางต่างๆ ของเรา”

ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนกล่าวต่อไปว่า การสวมหน้ากากอนามัยเป็นมาตรการที่สามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อได้มาก แต่ก็สารที่ขัดแย้งกันอีกจากทางการต่างๆ แม้ว่าจะ

"เจ้าหน้าที่รัฐบอกว่าเราไม่บังคับเรื่องพวกนี้แล้ว ดังนั้นคุณต้องรับผิดชอบด้านสุขภาพของตัวเอง ปัญหาในประเด็นนี้คือ คือไม่ใช่คนสูงอายุที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย เรามีผู้สูงอายุที่สวมหน้ากากเข้าไปในซูเปอร์มาร์เก็ต และพวกเขาถูกรายล้อมไปด้วยผู้คนที่แพร่เชื้อได้ ที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย”

ความวิตกเรื่องอาการ 'โควิดระยะยาว' (long COVID)

ออสเตรเลียมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้ คือจำนวน 3,542 ราย ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในปี 2020 และ 2021 รวมกัน ซึ่งมีจำนวน 3,300 ราย

ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนกล่าวว่า ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการจำนวนมากและอัตราการตรวจเชื้อที่ลดต่ำลง จำนวนผู้ติดเชื้อจริงจึงสูงกว่าตัวเลขที่เป็นทางการมาก

“ดังนั้น หากเรามีผู้ติดเชื้อวันละ 50,000 รายที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยัน จะมีคนจำนวนมากกว่านั้นหลายเท่าที่ติดเชื้อในแต่ละวัน ดังนั้นเราจึงมีผู้คนจำนวนมากที่ติดเชื้อและฟื้นตัว และโชคร้ายที่คนเหล่านั้นบางคนจะเสียชีวิต” ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมน กล่าว

"และเหตุผลที่เราเห็นจำนวนผู้เสียชีวิตสูงเช่นนี้ก็เพราะว่าเรามีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูง เรามีจำนวนประชากรเป็นเปอร์เซ็นส์สูงที่ติดเชื้อ ซึ่งเห็นได้ชัดว่านี่จะส่งผลกระทบต่อประเด็นนี้ และมันก็เป็นเช่นนั้นแล้ว"

"นั่นเป็นเหตุผลที่เราเห็นจำนวนผู้เสียชีวิตที่ค่อนข้างสูงในช่วงสี่เดือนที่ผ่านมา"

ชาวออสเตรเลียมากกว่า 5.5 ล้านคนติดเชื้อโควิด-19 ตลอดช่วงการระบาดใหญ่

ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนกล่าวว่า มีข้อมูลเพิ่มเติมผุดขึ้นเกี่ยวกับอาการโควิดระยะยาว หรือ long COVID ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพยายามทำให้อัตราการแพร่ระบาดอยู่ในระดับต่ำ

“ในขณะนี้ ความกังวลหลักของผมคืออาการโควิดระยะยาว (long COVID) แพทย์ทั่วไปเริ่มเห็นผู้ป่วยที่มาหาเพราะปัญหาสุขภาพในระยะยาวเนื่องจากการติดเชื้อ และนั่นจะมีแต่จะเลวร้ายลง” ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมน กล่าว
ความกังวลหลักคืออาการ long COVID แพทย์ทั่วไปเริ่มเห็นผู้ป่วยที่มาหาเพราะปัญหาสุขภาพในระยะยาวเนื่องจากการติดเชื้อ
"ผลสำรวจล่าสุดในสหราชอาณาจักรพบว่า กว่าร้อยละ 2 ของประชากรทั้งหมดมีอาการโควิดระยะยาว (long COVID) ซึ่งระบบสุขภาพจะต้องรับมือ และเรายังไม่พร้อมรับมือ ดังนั้น ผมจึงคิดว่าสำหรับผมแล้ว นั่นสิ่งที่น่าวิตกมากที่สุด และเป็นเหตุผลหลักที่ว่าทำไมอย่างน้อยเราจึงจำเป็นต้องชะลอจำนวนผู้ติดเชื้อลง”

รายงานเพิ่มเติมโดย Mar Diaz


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดต่อสอบถามบริการสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 25 April 2022 2:13pm
By Biwa Kwan
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS

Share this with family and friends